ชุดบุคคลสำคัญของโลก
มหาตมา คานธี
บิดาแห่งประชาชาติอินเดีย
อับราฮัม ลินคอล์น
ประธานาธิบดีผู้ปลดปล่อยทาสของสหรัฐอเมริกา
เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล
นายกรัฐมนตรีวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษ

มหาตมา คานธี
บิดาแห่งประชาชาติอินเดีย



          (มหาตมา) โมหันทาส กรรมจันท คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi) เกิดเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ค.ศ. ๑๘๖๙ ณ แคว้นคุชราต (Gujarat) ประเทศอินเดีย เมื่อคานธีอายุ ๑๓ ปี ได้สมรสกับเด็กหญิงคนหนึ่งชื่อ กัสตุรบา (Kasturba) ตามประเพณีท้องถิ่นในสมัยนั้น คานธีเป็นนักการเมือง ได้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพของประเทศ จากการปกครองของอังกฤษ โลกจะต้องจดจำคานธี ผู้ซึ่งได้รับการขนานนามว่า มหาตมา แปลว่า ผู้มีจิตใตสูงส่ง คานธีใช้วิธีการของ อหิงสา ในการแก้ปัญหาระหว่างมวลมนุษย์ คานธีจบชีวิตลง เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๘

อสโต มา สทฺคมย
ตมโส มา ชฺยติรฺคมย
มฤโตยรฺมา อมฤตํ คมย

จงพาข้าจากอสัตย์ไปสู่ความสัตย์
จากความมืดไปสู่ความสว่าง
จากมฤตยูไปสู่อมตภาพ


(คัมภีร์อุปนิษัท)



อับราฮัม ลินคอล์น

ประธานาธิบดีผู้ปลดปล่อยทาสของสหรัฐอเมริกา


          อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๐๙ ในกระท่อมไม้ซุงใกล้เมืองฮอดเกนวิลล์ (Hodgenville) รัฐเคนตั๊กกี้ (Kentucky) เป็นบุตรของโธมัส (Thomas) และ แนนซี่ แฮงส์ ลินคอล์น (Nancy Hanks Lincoln) ในปี ค.ศ. ๑๘๔๒ ได้แต่งงานกับ แมรี่ ทอดด์ (Mary Todd) มีบุตร ๔ คน ลินคอล์น ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ค.ศ. ๑๘๖๕

          ท่านเป็นประธานาธิบดีคนที่ ๑๖ ของสหรัฐอเมริกา สังกัดพรรครีพับลิกัน (ค.ศ. ๑๘๖๑ – ๑๘๖๕) นโยบายเลิกระบบทาสของลินคอล์น เป็นเหตุให้เกิดสงครามกลางเมืองในอเมริกา ระหว่างรัฐทางภาคเหนือ กับ รัฐทางภาคใต้ ท่านได้รับสมญาว่าเป็น ประธานาธิบดีผู้ปลดปล่อยทาสของสหรัฐอเมริกา

วาทะลินคอล์น

“Government of the people, by the people and for the people
shall not perish form the earth.”

Gettysburg Oration

“รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน จะต้องไม่สูญสลายไปจากโลกนี้”
สุนทรพจน์ที่เมืองเก็ตตี้สเบอร์ก



เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล

นายกรัฐมนตรีวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่แห่งประเทศอังกฤษ



          วินสตัน เชอร์ชิล (Winston Churchill) รัฐบุรุษอังกฤษ เกิดเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๘๗๔ ณ ปราสาทเบลนไฮม์ (Blenheim Palace), วูดสต๊อก (Woodstock), ออกฟอร์ดเชียร์ (Oxfordshire) เป็นหลานของ จอห์น เชอร์ชิล (John Churchill) ดยุคที่ ๑ แห่ง มาร์ลโบโรจ (Marlborough) เชอร์ชิลเป็นนายกรัฐมนตรี ๒ สมัย คือ ระหว่าง ปี ค.ศ. ๑๙๔๐ – ๑๙๔๕ และระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๕๑ – ๑๙๕๕

          ท่านได้แสดงให้เห็นถึงสมรรถภาพ ความเป็นผู้นำอันหาได้ยาก อีกทั้งความสามารถอันยอดเยี่ยมในฐานะนักพูด เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล (Sir Winton Churchill) มีส่วนช่วยในการนำชัยชนะมาสู่ฝ่ายพันธมิตร ด้วยการรักษากำลังใจของฝ่ายอังกฤษ และ รักษาเอกภาพ ของฝ่ายพันธมิตร จน ฝ่ายพันธมิตร ได้ชัยชนะเหนือ ฝ่ายอักษะ วินสตัน เชอร์ชิล ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ค.ศ. ๒๔๖๕

          งานเขียนชิ้นสำคัญๆ ได้แก่ “สงครามโลกครั้งที่สอง” (ค.ศ. ๑๙๔๘ – ๑๙๕๓) “ประวัติศาสตร์ ประชากรผู้พูดภาษาอังกฤษ (ค.ศ. ๑๙๕๖ – ๑๙๕๘) เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ในปี ค.ศ. ๑๙๕๓

เซอร์ วินสตัน (เลียวนาด สเปนเซอร์) เชอร์ชิล
(๑๘๗๔ – ๑๙๖๕)

"ระหว่างมีชีวิตอยู่ เป็นชาวอังกฤษที่ยิ่งใหญ่ที่สุด",
"เป็นนักยุทธศาสตร์ที่มีพรสวรรค์",
"เป็นผู้นำสงครามที่บันดาลกำลังใจ,
"เป็นนักพูดที่ยอดเยี่ยม",
"เป็นนักวาดภาพที่สามารถ",
"เป็นนักเขียนที่มีสำนวนโวหารเป็นเยี่ยม พร้อมทั้งมีสำนึกทางประวัติศาสตร์อันลึกซึ้ง",

(จากสารานุกรมชีวประวัติแคมบริดจ์)


ย้อนกลับ ถัดไป